top of page

                                            ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้

 

     ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล ลักษณะภูมิประเทศแบ่งได้ 2 เขต คือ 

 

1. เขตเทือกเขา มีลักษณะการวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เช่น 

       - เทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับพม่า 

       - เทือกเขาภูเก็ต อยู่ทางตะวันตกของภาค 

       - เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางของภาค 

 

 

 

 

 

 

 

2. เขตที่ราบ ที่ราบในภาคใต้มีลักษณะยาวขนานระหว่างภูเขาและชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ซึ่งทางตะวันออกเป็นชายฝั่งแบบยกตัว ส่วนชายฝั่งตะวันตกเป็นแบบยุบตัว

จุดชมวิวเขาขาด จังหวัดภูเก็ต

หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่

หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา

        ทรัพยากรธรรมชาติของภาคใต้

 

1. ทรัพยากรดิน ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ส่วนดินบริเวณที่สูงเป็นดินเหนียวหรือดินลูกรัง เหมาะในการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน 

 

 

2. ทรัพยากรน้ำ ภาคใต้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี แต่มีปัญหาในการขาดแคลนน้ำเนื่องจากมีแม่น้ำสายสั้นๆ ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากการขุดเจาะบ่อบาดาลและได้จากเขื่อนต่าง ๆ ได้แก่ เขื่อนคลองหลา จังหวัดสงขลา เขื่อนปัตตานี จังหวัดปัตตานี เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

 

 

3. ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ในภาคใต้เป็นป่าดิบชื้นตามเทือกเขา และป่าชายเลน จังหวัดที่ป่าไม้มากสุดคือ สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นป่าแพะ ป่าโคก ขึ้นปะปนกับทุ่งหญ้าสะวันนา

4. ทรัพยากรแร่ธาตุ

ภาคใต้มีแร่ธาตุหลายชนิด ดังนี้ 

     - ทองคำ พบที่อำเภอโม๊ะโต๊ะ จังหวัดนราธิวาสและที่ชุมพร 

     - แร่ฟลูออไรด์ , ยิปซัม , ดินขาว พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

     - ถ่านหิน พบที่กระบี่และสุราษฎร์ธานี 

     - น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ พบที่อ่าวไทย

แร่ฟลูออไรด์

ลักษณะภูมิประเทศไทย ภาคใต้

bottom of page