![](https://static.wixstatic.com/media/99ec98fdb81945c29c25a3ad6c5606b1.jpg/v1/fill/w_1920,h_1280,al_c,q_90,enc_avif,quality_auto/99ec98fdb81945c29c25a3ad6c5606b1.jpg)
ลักษณะภูมิประเทศของภาคกลาง
เขตที่ราบ
- เขตที่ราบภาคกลางตอนบน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (เนินเขาสลับกับที่ราบ)
- เขตที่ราบภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบกว้างที่เกิดจากการทับถมของตะกอน และเกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา
- เขตที่ราบทางตะวันออกและตะวันตก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับกับลูกฟูก มีภูเขาที่ไม่สูงกระจายอยู่ทั่วไป
แม่น้ำสายสำคัญของภาคกลาง
1. แม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากจังหวัดนครสวรรค์ไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ
แม่น้ำสายเล็กๆ ที่เป็นสาขาคือ แม่น้ำมะขามเฒ่า(แม่น้ำลพบุรี)
แม่น้ำน้อย(สุพรรณบุรี) และแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน)
2. แม่น้ำป่าสัก เริ่มจากจังหวัดเลย ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. แม่น้ำสะแกกรัง เริ่มต้นจากนครสวรรค์และกำแพงเพชร ไหลมาบรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดอุทัยธานี
![](https://static.wixstatic.com/media/92e1d9_156946178d544ffda2de6f4185dae356.gif)
![](https://static.wixstatic.com/media/92e1d9_d4f2a569141b419c90305366fe2c9a19.jpg/v1/fill/w_275,h_185,al_c,lg_1,q_80,enc_avif,quality_auto/92e1d9_d4f2a569141b419c90305366fe2c9a19.jpg)
แม่น้ำเจ้าพระยา
คลองที่สำคัญในภาคกลาง
1. คลองรังสิต เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำ นครนายก
2. คลองบางบัวทอง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับ แม่น้ำนครชัยศรี
3. คลองภาษีเจริญ เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับคลอง บางกอกน้อย
4. คลองแสนแสบ,คลองพระโขนง และคลองสำโรง เป็นคลองที่ เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง
5. คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับ แม่น้ำแม่กลอง
**ภาคกลางมีแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ บึงบอระเพ็ด
อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ และบึงสีไพ จังหวัดพิจิตร
![](https://static.wixstatic.com/media/92e1d9_7131982a0a904732810bb6b4c6396ca4.jpg/v1/fill/w_274,h_182,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/92e1d9_7131982a0a904732810bb6b4c6396ca4.jpg)
ทรัพยากรธรรมชาติในภาคกลาง
1. ทรัพยากรดิน ภาคกลางตอนบนเป็นดินตะกอนเก่าไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกเนื่องจากเกิดการจับตัวแข็งในช่วงฤดูแล้ง
ดินที่เหมาะในการเพาะปลูกควรเป็นดินเหนียวท่าจีน
2. ทรัพยากรน้ำ ประกอบแม่น้ำและลำคลองมากมากจึงเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน
3. ทรัพยากรป่าไม้
ภาคกลางมีพื้นที่ของป่าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบในภาคกลางตอนบนเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
ภาคกลางมีแร่ธาตุไม่มากนัก เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ แร่ที่สำคัญคือ แร่โลหะ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว ทองคำ