top of page

                                   ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออก

 

           ภาคตะวันออกเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก ทำให้เกิดที่ราบระหว่างทิวเขาสันกำแพงและทิวเขาจันทบุรีเชื่อมโยงเข้าไปยังที่ราบในประเทศกัมพูชา เรียกว่าฉนวนไทย ภาคตะวันออกมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชาจากด้านจังหวัดสระแก้ว พรมแดนอยู่บนพื้นที่ราบฉนวนไทยต่อลงทางใต้แนวพรมแดนผ่านจังหวัดจันทบุรีและทิวเขาบรรทัพในจังหวัดตราด ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกแบ่งออกได้ ดังนี้


2.1 ทิวเขาในภาคตะวันออก


   1. ทิวเขาจันทบุรี เริ่มจากเขาตะแบงใหญ่ในทิวเขาบรรทัด ทอดตัวลงไปทางตะวันตก 281 กิโลเมตร เป็นต้นน้ำที่ไหลลงด้านใต้จะเป็นแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเล ยอดเขาสูงในทิวเขานี้ คือ เขาสอยดาวเหนือ และเขาสอยดาวใต้


   2. ทิวเขาบรรทัด เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา เริ่มจากแหลมสารพัดพิษในอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดขึ้นไปทางเหนือตามแนวพรมแดนจนถึงเขาตะแบงใหญ่ ยอดเขาที่สูงที่สุดในที่นี้ คือ เขาตะแบงใหญ่ ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ภาคตะวันออกมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 500 กิโลเมตร มีความสำคัญทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและการเมือง เพราะเขตชายฝั่งนี้เป็นส่วนที่ตั้งฐานทัพเรือ ชายฝั่งทะเลมีลักษณะกว้างขวาง เป็นอ่าวเล็ก เพราะส่วนหนึ่งของอ่าวไทย เช่น อ่าวพัทยา อ่าวเกล็ดแก้ว เป็นต้น ลักษณะภูมิประเทศอีกประการ คือ เกาะซึ่งในภาคนี้มีเกาะมากมาย เกิดจากทรุดตัวของเปลือกโลกทำให้เกิดน้ำขังส่วนที่ยังสูงอยู่จึงเป็นเกาะ


2.2 แม่น้ำในภาคตะวันออก
     - แม่น้ำบางปะกง เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุด ของภาคนี้เกิดจากแม่น้ำสองสายไหลลงมารวมกัน คือ แม่น้ำหนุมาน
     - แม่น้ำจันทบุรี ยาวประมาณ 100 กิโลเมตร เกิดจากภูเขาสอยดาวเหนือผ่านอำเภอเมืองจันทบุรี และไหลลงสู่ทะเล ในเขตอำเภอแหลมสิงห์        จึงเรียกว่า ปากแม่น้ำแหลมสิงห์
     - แม่น้ำเวฬุ เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ยาว เพียง 50 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากภูเขาสระบาป แล้วไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเทือกเขานี้ไป            บรรจบกับลำธารต่าง ๆ แล้วไหลสู่ทะเลบริเวณอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เรียกว่า ปากน้ำวน

ทิวเขาจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

                  ทรัพยากรทางธรรมชาติ


1. ทรัพยากรดิน ภาคตะวันออกเป็นภาคที่ดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์

โดยมีลักษณะของดินแตกต่างกัน ดังนี้
  - ดินบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งอยู่ตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ ใช้ในการเพาะปลูกข้าว บางบริเวณจะได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำทะเลที่หนุนขึ้นมาท่วม ทำให้คุณภาพของดินไม่ดี
  - ดินบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล เป็นเขตที่ปลูกพืชบางประเภทได้ เช่น มะพร้าว

 

2. ทรัพยากรน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญของภาค ได้มาจาก 2 แหล่ง คือ
  - แหล่งน้ำบนผิวดิน ได้แก่ แม่น้ำสายต่างๆ อ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่าง ๆ
  - แหล่งน้ำใต้ดิน จะมีมากในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำบริเวณอื่นๆ

    มีแหล่งน้ำใต้ดินน้อย เพราะลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลูกฟูก
  

3. ทรัพยากรแร่ ภาคตะวันออกมีแร่หลายชนิด แต่ปริมาณการผลิตยังไม่มากพอแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่
  - แร่เหล็ก พบมากที่จังหวัดชลบุรี และระยอง
  - แร่แมงกานีส พบที่ระยอง
  - แร่พลวง แหล่งผลิตอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี และระยอง

 

4. ทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้ของภาคตะวันออกในปัจจุบันถูกทำลายลงไปมาก เพราะการขยายตัวของการ อุตสาหกรรมทุกประเภท จังหวัดที่ยังมีป่าไม้หลงเหลืออยู่ คือ ปราจีนบุรี ลักษณะป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ผลัดใบ สัตว์ป่าในภาคตะวันออก เหมือนกับทุกภาคที่มีจำนวนลดน้อยลงแม้ว่าจะมีเขตอุทยานหลายแห่งในภาคตะวันออก คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว อุทยานแห่งชาติทุ่งสียัด (ฉะเชิงเทรา)

                           ปัญหาสำคัญ

 

1.ปัญหามลพิษทางทะเล เช่น น้ำเสีย สัตว์ทะเลถูกทำลาย แนวปะการังและหาดสกปรก


2.ปัญหาป่าไม้ถูกทำลาย พื้นที่ของภาคนี้เคยมีป่าอุดมสมบูรณ์ทั้งป่าบกและป่าชาย และปัจจุบันถูกใช้พื้นที่เพื่อการอื่น

 

3.ปัญหาอพยพของประชาชน มีการอพยพเข้ามามากขึ้น มีผลให้เกิดปัญหาที่อยู่อาศัย การบริการด้านสาธารณูปการ ไม่เพียงพอ เกิดปัญหาชุมชน
4.ปัญหาชายแดน เนื่องจากเป็นภาคที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา ซึ่งมีปัญหาด้านการเมืองภายในประเทศ

 

5.ปัญหาการประมงและน่านน้ำ ขณะนี้ประเทศต่างประกาศเขตน่านน้ำสากลขยายเป็น 200 ไมล์ทะเล ทำให้เกิดกรณีพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้าน

ลักษณะภูมิประเทศไทยภาคตะวันออก

bottom of page